Monthly Archives: กุมภาพันธ์ 2012

อียิปต์โบราณ

อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช [1] โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 3,000 ปี [2] ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า “ราชอาณาจักร” มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “ราชอาณาจักรใหม่” อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่น้อยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์พ่ายแพ้ต่อการทำสงครามจากอำนาจของชาติอื่น จนกระทั่งเมื่อ 31 ปีก่อนคริตศักราชก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถเอาชนะอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิโรมัน

อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 3,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป

 

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

สภาพทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์โบราณ

สภาพทางภูมิศาสตร์ของอียิปต์โบราณ

อียิปต์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาในสมัยโบราณบริเวณที่ีมีผู้คนอาศัยอยู่ได้แก่ ดินแดนที่อยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ ทิศเหนือคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   ทิศตะวันออกคือทะเลแดง   ทิศใต้คือประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบันส่วนทิศตะวันตกคือทะเลทรายซะฮารา    อียิปต์โบราณประกอบด้วยบริเวณสองแห่งคืออียิปต์บน   (Upper   Egypt)    และอียิปต์ล่าง  (Lower  Egypt) อียิปต์บนได้แก่บริเวณที่มีแม่น้ำไนล์ ไหลผ่านหุบเขา มีความยาวประมาณ 500ไมล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ตอนนี้เป็นหน้าผาลาดกว้างไปจนสุดสายตาเต็มไปด้วยเนินเขาที่แห้งแล้ง มีเนินทรายสีแดงและสีเหลืองเป็นตอนๆ อียิปต์ล่างได้แก่บริเวณที่แม่น้ำไนล์แตกสาขาออกเป็นรูปพัดไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   บริเวณนี้ชาวกรีกโบราณเรียกว่า    เดลต้า เป็นบริเวณปลายสุดของลำน้ำมีความยาวประมาณ 200 ไมล์และกว้างระหว่าง 6-22 ไมล์อารยธรรมโบราณของอียิปต์ได้เจริญขึ้นในบริเวณแถบเดลต้านี้ อียิปต์เป็นดินแดนกันดารฝน   แต่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์ซึ่งได้รับน้ำอันเกิดจากหิมะละลาย  และฝนในฤดูร้อนจากภูเขาในอบิสสิเนีย  น้ำจะไหลบ่าลงมาตามแม่น้ำ   ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคมทำให้สองฝั่งแม่น้ำไนล์จมอยู่ใต้น้ำเป็นบริเวณกว้างเมื่อน้ำลดโคลนตมที่น้ำพัดพามาจะตกตะกอนเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกวามอุดมสมบูรณ์ ลุ่มแม่น้ำไนล์ได้มาจากตะกอนโคลนตมอันอุดมด้วยปุ๋ย     ซึ่งน้ำที่ท่วมประจำปีนำมาทิ้งไว้เช่นเดียวกับบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำไทกรีส    และยูเฟรตีส ของเมโสโปเตเมียพัฒนาการของอารยธรรมก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน      กล่าวคือ มีการร่วมแรงกันสร้างระบบชลประทานเพื่อป้องกันน้ำท่วม สร้างทำนบกั้นน้ำ      ขุดคูน้ำไปยังดินแดนที่ห่างไกลออกไปแต่ทว่าพัฒนาการทางการเมืองของอียิปต์แตกต่างจากเมโสโปเตเมีย     กล่าวคืออียิปต์ได้แบ่งแยกเป็นนครรัฐอิสระอย่างในเมโสโปเตเมีย     หากแต่ร่วม กันเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของบุคคลเดียวคือกษัตริย์ซึ่งอียิปต์เรียกว่าฟาโรห์ (Pharaoh)

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

ราชวงค์อียิปต์โบราณ

ราชวงค์อียิปต์โบราณ

              1 ปลายยุคก่อนราชวงศ์ ราว 3100 ปีก่อน ค.ศ.

2 ราชวงศ์ต้นๆ ราว 2950-2575 ปีก่อน ค.ศ.

2.1 ราชวงศ์ที่หนึ่ง

2.2 ราชวงศ์ที่สอง

2.3 ราชวงศ์ที่สาม

3 ราชอาณาจักรเก่า ราว 2575-2510 ปีก่อน ค.ศ.

3.1 ราชวงศ์ที่สี่

3.2 ราชวงศ์ที่ห้า

3.3 ราชวงศ์ที่หก

3.4 ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด

4 ช่วงต่อที่หนึ่ง ราว 2125-1975 ปีก่อน ค.ศ.

4.1 ราชวงศ์ที่เก้าและสิบ

4.2 ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด

5 ราชอาณาจักรกลาง ราว 1975-1640 ปีก่อน ค.ศ.

5.1 ราชวงศ์ที่สิบสอง

5.2 ราชวงศ์ที่สิบสาม

6 ช่วงต่อที่สอง ราว 1630-1520 ปีก่อน ค.ศ.

6.1 ราชวงศ์ที่สิบสี่

6.2 ราชวงศ์ที่สิบห้าและสิบหก

6.3 ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด

7 ราชอาณาจักรใหม่ ราว 1539-1075 ปีก่อน ค.ศ.

7.1 ราชวงศ์ที่สิบแปด

7.2 ราชวงศ์ที่สิบเก้า

7.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบ

8 ช่วงต่อที่สาม ราว 1075-715 ปีก่อน ค.ศ.

8.1 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด

8.2 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง

8.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม

8.4 ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่

8.5 ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า

9 ยุคปลาย ราว 715-332 ปีก่อน ค.ศ.

9.1 ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก

9.2 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด

9.3 ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด

9.4 ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า

9.5 ราชวงศ์ที่สามสิบ

9.6 ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

10 ยุคกรีก-โรมัน ราว 332 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 395

10.1 ราชวงศ์มาซิโดเนีย ราว 332-305 ปีก่อนคริสตกาล

10.2 ราชวงศ์ที่ปโตเลมี ราว 305-30 ปีก่อนคริสตกาล

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

ศิลปะอียิปต์

( 2650 ปีก่อน พ.ศ. – พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย

 จิตรกรรม

 

งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว

ประติมากรรมไฟล์

 

150pxงานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีการทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน

สถาปัตยกรรมไฟล์

200pxสถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ – พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

อารยธรรมอียิปต์โบราณ

อารยธรรมอียิปต์โบราณ

อารยธรรมอียิปต์โบราณอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกโบราณในระยะต้นนั้นส่วนใหญ่ก็คือ   อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งนี้เพราะการสร้างอารยธรรมในยุคแรกนั้นมีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่เนื่องจากประชากรในยุคนั้นต้องอาศัยน้ำทั้งในการดำรงชีวิตและเพื่องานเกษตรกรรม การคมนาคมส่วนใหญ่ก็ต้องอาศัยแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกจึงอยู่ที่บริเวณแม่น้ำใหญ่ 4 แห่ง    คือ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส ยูเฟรตีส    บริเวณแม่น้ำสินธุ   และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง อารยธรรมในบริเวณนี้เป็นอารยธรรมเกษตรกรรม เนื่องจากต้องอาศัยการดำรงชีวิตอยู่ใกล้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้งสิ้น

ก. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ นักประวัติศาสตร์กรีกท่านหนึ่งคือ เฮโรโดตัส (Herodotus:484-425 B.C.) กล่าวถึงอียิปต์ว่าเป็น a  gift  of  the Nile   เพราะถือว่าแม่น้ำไนล์นั้นคือหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศอียิปต์ เพราะตามปกติอียิปต์จะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง เพราะล้อมรอบด้วยทะเลทราย มีฝนตกเพียงเล็กน้อยในฤดูหนาว  และตกเฉพาะบริเวณเดลต้า อียิปต์จึงได้อาศัยความชุ่มชื้นจากแม่น้ำไนล์ ในราวเดือนกรกฎาคมของทุกปีน้ำจากแม่น้ำจะไหลล้นฝั่งทั้งสองและเริ่มลดลงในเดือนตุลาคมเมื่อน้ำลดลงก็จะทิ้งโคลนตมไว้บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำ โคลนตมเหล่านี้จเป็นปุ๋ยช่วยให้พืชเจริญงอกงาม  ฉะนั้น ถ้าขาดแม่น้ำไนล์เสียอียิปต์ก็จะกลายเป็นทะเลทรายที่ร้อนระอุ    ด้วยเหตุที่แม่น้ำไนล์ให้ความอุดมสมบูรณ์นี้อารยธรรมของอียิปต์จึงเป็นอารยธรรมที่เกิดจากการเกษตรกรรม

อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงนี้เชื่อว่าเป็นเพราะอิทธิพลของของฟาโรห์  พระองค์เท่านั้นที่รู้จักและเข้า  Ma’at     ซึ่งหมายความว่านั่นคือ   เป็นผู้ดียวที่เข้าใจถึงความสอดคล้องต้องกันของจักรวาล     เพราะฉะนั้น การปกครองของอียิปต์ในระยะแรกจึงมาในรูปของกษัตริย์เทวาธิปไตย ในระหว่างที่ฟาโรห์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็จะดำรงตำแหน่งโฮรัส   (Horus)   พระบุตรของโอสิริส   (Osiris)   เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วก็จะกลับไปเป็นเทพโอสิริส กล่าวคือเป็นเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่งเพราะฉะนั้นกษัตริย์อียิปต์ทุกพระองค์เมื่อได้มีทำพิธีฝังพระศพแล้วก็จะถูกเรียกว่าเทพโอสิริสทุกพระองค์และเมื่อนั้นก็จะมีการช่วยเหลือข้าราชบริพารของพระองค์ที่ยังดำรงชีวิตอยู่ได้

ข. ประวัติศาสตร์การเมืองของอียิปต์ นักปราชญ์ผู้ทำการศึกษาเรื่องราวของอียิปต์โดยเฉพาะคือ จอห์น เอ วิลสัน (John A. Wilson) บันทึกไว้ ว่า “การเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการต่างๆ นั้น น้ำจะเกิดขึ้นภายในดินแดนลุ่มแม่น้ำไนล์เอง กล่าวคือฝูงสัตว์จากบริเวณที่สูงรวมทั้งคนด้วยคงจะล่องมาตามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำหาแหล่งที่มีพืชผลอุดมสมบูรณ์ตามกันลงมาจนทั้งสองฝ่ายรู้จักกันดีขึ้นคนรู้ว่าสัตว์บางชนิดควรเลี้ยงไว้ใ่กล้สัตว์เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในวันหน้าพืชบางชนิดก็อาจขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมากขึ้นเพื่อเลี้ยงทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คนเลี้ยงไว้ด้วย”อียิปต์โบราณ หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์นี้เอง เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือเมื่อประมาณ 6000 ปีมาแล้วประชาชนบริเวณนี้ได้เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะเอาชนะธรรมชาติและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ มีรัฐบาลที่เป็นระเบียบมีความมั่นคงอุดมสมบูรณ์    ตลอดจนมีศิลปและวรรณคดีชั้นสูง อารยธรรมนี้ก็เจริญและยั่งยืนอยู่เป็นเวลานาน      สาเหตุหนึ่งที่ทำให้

อารยธรรมเจริญอยู่เป็นเวลานานก็เพราะสภาพภูมิประเทศ

1. การที่อิยิปต์ล้อมรอบด้วยทะเลทรายทั้งทางทิศตะวันตก และทิศตะวันออกตลอดจนการที่แม่น้ำไนล์มี แก่งโจน(Catarats)ตั้งแต่ปากน้ำจนสุดสายแม่น้ำซึ่งยาวประมาณ700 ไมล์ทำให้เป็นการยากแก่ศัตรูภายนอกที่จะเข้ารุกรานมีทางเดียวเท่านั้นที่ศรัตรูจะเข้ามารุกรานอียิปต์ได้คือเดลต้าที่เชื่อมทวีปอัฟริกากับเอเซียคือตรงบริเวณทะเลแดง แต่ก็ป้องกันได้ง่าย

2. การที่แม่น้ำไนล์ท่วมฝั่งทุกปีทำให้ประชาชนที่เข้าอยู่บริเวณนี้ต้องพยายามหาทางที่จะเอาชนะธรรมชาติจึงเกิดความร่วมมือกันทำงาน เช่นมีการชลประทานมีการขุดคูส่งน้ำเมื่อมีคนมาอยู่มากก็ต้องมีรัฐบาลปกครองเพื่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุข นอกจากนี้ความอุดมสมบูรณ์ที่ได้รับจากแม่น้ำไนล์ก็ยังมีส่วนทำให้ชาวอียิปต์มีจิตใจที่จะคิดค้นและสร้างสมศิลปวัฒนธรรมและวรรรณคดีต่างๆ

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

อักษรภาพอียิปต์โบราณ

อักษรภาพอียิปต์โบราณ

อักษรภาพไฮราติกของ 2,765

 

ตราบใดที่ยังมีมนุษย์ การพัฒนาย่อมไม่หยุดยั้ง ตัวเลขเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความเหมาะสมในการใช้งาน ของแต่ละอารยธรรม

อักษรภาพไฮโรกลิฟ

อักษรภาพไฮโรกลิฟในช่วงที่อียิปต์โบราณรุ่งเรือง 2000 กว่าปีนั้น อักษรภาพไฮโรกลิฟ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยต่อมาชาวอียิปต์โบราณเห็นว่าการเขียนแบบไฮโรกลิฟนั้น   ไม่กระชับ   จึงพัฒนาสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก  (Hieratic) ขึ้นดังแสดงในรูปที่   3   ตัวเลขแบบไฮราติกนั้น ต้องใช้ความจำมากขึ้น เพราะมีสัญลักษณ์ทั้งหมด 36 ตัว (จากเดิมที่มีอักษรภาพเพียง 7 ตัว) แต่ข้อดีก็คือ   เมื่อนำไปเขียนเป็นตัวเลข   วิธีใหม่นี้สามารถลดจำนวนสัญลักษณ์ลง   จากเดิมตัวเลข 9,999 ต้องใช้อักษรภาพ 36 ตัว ก็เหลือใช้สัญลักษณ์แบบไฮราติก  เพียง 4 ตัวเท่านั้น สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง  สัญลักษณ์แบบไฮราติก    และระบบจำนวนที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นก็คือ ตำแหน่งของสัญลักษณ์แบบ ไฮราติก   ไม่มีผลต่อค่าของตัวเลข ดังรูปที่ 4 ซึ่งมีค่าเท่ากันคือ 2,765

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

พีรมิด

พีรมิด

จากหลุมฝังพระศพแบบมาสตาบา (หลุมทรายที่ขุดเป็นรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และกลบปิด ให้สูงขึ้น) ชาวอียิปต์ได้วิวัฒนาการแนวความคิด ก่อเป็นมาสตาบาซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ และลดหลั่นกันตาม ลำดับ กลายเป็นโครงสร้างพีระมิดขึ้นมาเป็นแห่งแรก และจัดว่าเป็นอนุสาวรีย์หินอันมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นั่นคือ พีระมิดแบบขั้นที่เมืองซัคคารา พีระมิดแบบขั้นนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยฟาโรห์โซเซอร์ กษัตริย์องค์แรกในราชวงศ์ที่ 3 (เมื่อประมาณ 2686-2613 ก่อนคริสตกาล) พีระมิดแบบขั้น จัดว่าเป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งแรกที่เป็นแบบอย่างวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมจากการก่อสร้างด้วยอิฐและไม้ในสมัยแรกมาเป็นการก่อสร้างด้วยหิน กล่าวกันว่าผู้ออกแบบก่อสร้างคือ อิมโฮเท็ป สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น ชาวอียิปห์ยกย่องอิมโฮเท็ปไม่เพียงแต่จะเป็นสถาปนิกชั้นยอดเท่านั้น ยังเป็นบิดาแห่งการแพทย์ นักดาราศาสตร์ และนักบุญผู้วิเศษที่ยิ่งใหญ่แห่งชาวอียิปต์โบราณซึ่งแม้แต่ชาวกรีกในสมัยนั้นยังยกย่องอิมโฮเท็ปว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์โบราณของพวกเขาอีกด้วยสถานที่หรือบริเวณที่อิมโฮเทปได้เลือกเป็นที่ก่อสร้างพีระมิดแบบขั้นก็คือบริเวณเนินดินที่สูงแห่งเมืองซัคคารา ปกคลุมเนื้อที่ยาวประมาณ 1,800 ฟุตและกว้างประมาณ 1,000 ฟุตด้านที่ยาวที่สุดหันไปตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ลักษณะ ที่สำคัญของพีระมิดแบบขั้นแห่งนี้ก็คือเป็นพีระมิดที่มีโครงร่างคล้ายคลึงกับพีระมิดที่พบในประเทศเปรูและเม็กซิโกมากที่เดียวพีระมิดแบบขั้นนี้เดิมสร้างครอบมาสตาบาเพียง 4 ขั้นเท่านั้น ต่อมาได้เพิ่มเป็น 6   ขั้นชั้นนอกสุดฉาบด้วยหินปูนอย่างดีจากเมืองตูรา ลักษณะการก่อสร้างโครงสร้างสร้างด้วยหินทึบตันขนาดใหญ่ก่อตัวซ้อนกันขึ้นไป 6 ขั้น ความสูงวัดจากพื้นฐานถึงยอดประมาณ200 ฟุตลักษณะพื้นฐานเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกยาว411 ฟุตและวัดจากด้านเหนือสุดลงไปถึงทางใต้สุดของฐานยาว358 ฟุตบริเวณใจกลางภายในโครงสร้างพีระมิดแบบขั้นจะเป็นมาสตาบาสูง26 ฟุตแต่ละด้านยาว 207 ฟุตก่อด้วยหินปูนธรรมดา แต่ชั้นนอกฉาบด้วยหินปูนขาวจากเมืองตูรา

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

เครื่องประดับของอียิปต์โบราณ

   เครื่องประดับของอียิปต์โบราณ

  เครื่องประดับของอียิปต์โบราณจากการขุดพบทางโบราณคดีและการเปิดปิรามิดต่างๆเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าชาวอียิปต์ได้เริ่มมีการทำเครื่องประดับแล้วตั้งแต่   300  ปี   ก่อนคริสตศักราชในอดีตผู้ที่สวมใส่เครื่องประดับคือฟาโรห   ์และบุคคลต่าง ๆ   ในราชสำนักโดยเฉพาะเครื่องประดับ สมัยของฟาโรห์ป็นสมัยที่รุ่งเรื่องมั่งคั่งสมัยหนึ่งพบหลักฐานจากเครื่องใช้        รวมทั้งเครื่องประดับที่ถูกฝังไว้ ในปิรามิดซึ่งมีจุดเด่นพอสังเขปได้ ดังนี้

1. เครื่องประดับ ทำด้วยทองคำ

2. เทคนิคที่ใช้ในการทำเครื่องประดับส่วนใหญ่ คือ การดุนลาย การฉลุลาย  ส่วนลวดลาย

บนเครื่องประดับที่พบเป็นลวดลายจากอักษรอียิปต์โบราณรูปสัตว์ต่าง ๆ      เช่นนกอินทรีย์ งูเห่า นกกระสา รวมทั้งเทพเจ้า ตามความเชื่อ และภาพผู้คน

3. มีการนำอัญมณีมาประดับ   เช่น  ลาพิสลาซูล,  เทอร์คอยซ์  และคาเนเลี่ยน  ในบางครั้ง พบว่ามีการใช้ พลอยอะเมทิส และลูกปัดแก้วสีต่างๆ มาประกอบ โดยการนำมาร้อยรวม กับทองคำหรือประดับ บนชิ้นงานอีกด้วย

4. มีการลงยาเป็นการเพิ่มสีสรรค์ ให้กับเครื่องประดับ

5. ประเภทของเครื่องประดับที่พบ มักเป็นสร้อยคอแข็งแบบเป็นแผง, สร้อยคอลูกปัดต่างๆต่างหูกำไลข้อมือ, จี้ห้อยคอ,  เครื่องประดับศรีษะ   และประดับต้นแขน เครื่องประดับสไตล์ตูตันคาเมน   (Tutankhamun   Jewelry)

เครื่องประดับสไตล์นี้  ถูกพบในสุสานของกษัตริย์ตูตันคาเมน ของอียิปต์ ช่วงก่อนคริสตศักราช      1339-1329 มัมมี่ของกษัตริย์ ซึ่งเก็บในโลงศพทองคำ สามชั้น ที่อยู่ในห้องเก็บศพ   ถูกประดับด้วยหน้ากาก มงกุฎ เกราะบริเวณหน้าอก สร้อยคอ แหวน ต่างหู ซึ่งล้วนเป็นทอง นอกจากนี้ ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ ที่ยังไม่เคยสวมใส่ ที่ถูกฝังสำหรับนำไปใช้ ในช่วงชีวิตหลังความตาย และเป็นเครื่องราง โดยชิ้นงานส่วนใหญ่มี การสลัก หรือเป็นลายฉลุ      และมีการฝังด้วยดินเผา แบบอียิปต์หรือกระจกสีต่างๆ เพื่อเลียนแบบ เทอร์คว้อยซ์,  หิน,   คว้อยซ์ และลาปิซ   ลาซูรี่   การประดับตกแต่ง ยังเป็นการแทนความสำคัญ ทางศาสนาอย่างเช่น เทพเจ้า หรือนกแร้ง, เหยี่ยว, นกกระสา หรืองูเห่าด้วย

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

เทพเจ้าแห่งอียิปต์โบราณ

เทพเจ้าแห่งอียิปต์โบราณ

คงไม่มีอารยธรรมโบราณใด ที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าที่หลากหลายเท่าชาวอียิปต์ เทพเจ้าของอียิปต์มักอยู่ในรูปของสัตว์นานาชนิดที่พบเห็นได้รอบๆตัว ต่างจากเทพเจ้าในจินตนาการของชาวกรีกและฮินดู หรือเทพเจ้าที่เกิดจากอิทธิพลของธรรมชาติ เช่น เทพแห่งลม เทพแห่งภูเขาไฟ ฯลฯ ของชาวเกาะทะเลใต้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ชาวอียิปต์เริ่มมีความคิดเรื่องเทพเจ้ามาไม่น้อยกว่า 6,000 ปี เทพรุ่นแรกๆ จะเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพแห่งอาหารการกิน เช่นเดียวกับเทพรุ่นแรกๆของอารยะธรรมยุคเริ่มต้นอื่นๆ แต่เมื่ออียิปต์พัฒนาเข้าสู่ยุคฟาโรห์ เทพแห่งอียิปต์ก็พัฒนาซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ มีเทพประจำเมือง ประจำอาชีพ และเทพที่เคยใหญ่บางองค์ก็กลายเป็นเทพขั้นรองไป

ที่จะเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ คือเทพที่ยังเหลือปรากฎให้คนในปัจจุบันได้พบเห็นในรูปของภาพวาด รูปปั้น เครื่องประดับ และงานศิลป์ต่างๆ หรือแม้แต่มัมมี่ของสัตว์ต่างๆ ซึ่งถือเป็นตัวแทนเทพเจ้า และเป็นเทพองค์ “ดัง” ที่คนอียิปต์โบราณส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ

อามุน (หรืออาเมน อามอน) (AMUN /AMEN /AMON)

เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองธีบส์ มีรูปเป็นบุรุษเพศ เศียรประดับศิราภรณ์รูปขนนกยาว ยุคหลังพระนามเพี้ยนเป็น อาตอน หรือ อาเตน ในยุคของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 ได้ทรงพยายามให้คนอียิปต์ทั้งมวลหันมาเคารพเทพอาเตนเพียงองศ์เดียว ซึ่งนับเป็นความพยายามในการปฎิรูปความเชื่อครั้งยิ่งใหญ่ โดยฟาโรห์เองได้เปลี่ยนพระนามเป็น อัคนาเตน (Akhenaten) และฟาโรห์องศ์ต่อมาก็ทรงพระนามที่เกี่ยวข้อง คือ ตุตันคาเมน เป็นต้น

อาเตน หรืออามุน ถือเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้ถูกนำมารวมกับ รา หรื อ เร กลายเป็นสุริยเทพซึ่งเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งปวง

รา  หรือ เร

เป็นเทพบิดรแห่งเทพทั้งปวง สัญลักษณ์ของพระองค์คือ รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์ (Solar Disk) บางครั้งตั้งอยู่บนเรือ (Solar Boat) ที่พายเคลื่อนข้ามท้องฟ้าทุกวันๆ บางครั้งก็เป็นรูปเหยี่ยวที่มีจานกลมอยู่บนเศียร ในฐานะที่เหยี่ยวบินได้ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด

โอซิริส(OSIRIS)

เทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งยมโลก ฟาโรห์ที่สวรรคตจะทรงไปรวมกับโอซิริสในดินแดนหลังความตาย ในที่ฝังพระศพจะมีภาพโอซิริสเสมอ โอซิริสจะอยู่ในรูปบุรุษทรงเครื่องและมงกุฎของฟาโรห์ แต่มีผิวกายสีดำและถูกพันผ้าไว้แบบมัมมี่  โอซิริส คือศูนย์กลางความเชื่อเรื่องการกลับฟื้นคืนชีพ เพราะตามตำนานโอซิริสถูกฆ่าโดยเซธ และถูกสับเป็นชิ้นๆ แต่ด้วยความรักของมเหสีเทวีไอซิส ผู้ตามเก็บรวบรวมพระศพมาต่อใหม่ ทำให้โอซิริสกลับฟื้นคืนมาได้อีก

ไอซีส(Isis)

อัครเทวีที่คนอียิปต์ให้ความนับถือมากที่สุด เป็นเทวีแห่งความรัก และการอุทิศตนเพื่อสามีและบุตร และยังมีมนต์ และชื่อเสียงทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยไอซีมีพระรูปเป็นหญิงงาม ทรงเครื่องอย่างมเหสีแห่งฟาโรห์

ฮอรัส (Horus)

โอรสแห่งโอซิริส และไอซีส ทรงสภาพเป็นนกเหยี่ยว เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและถูกทียบเป็นองค์ฟาโรห์เมื่อยังทรงพระชนม์ จึงจะพบรูปสลักองค์ฟาโรห์มีเทพฮอรัสรวมอยู่ด้วยเสมอ  ฮอรัส คือตัวแทนแห่งความฉลาดแหลมคม และมีดวงตาที่มองทะลุได้อย่างรู้แจ้งเห็นจริง

ฮาเธอร์ ( Hathor)

เทวีผู้ให้ ผู้มีความเมตตา จะอยู่ในรูปของวัว หรือเทพีที่มีเขาวัวอยู่บนเศียร ในสมัยหนึ่งน่าจะเป็นองศ์เดียวกับไอซีส เพราะตำนานบางแห่งก็ว่าเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ภายหลังได้แยกจากกัน คือให้ ไอซีเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ฮาเธอร์เป็นแม่นม จึงปรากฎรูปฮาเธอร์ในลักษณะวัว กำลังให้นมฟาโรห์อยู่

เซธ (Seth) เทพแห่งพายุและความรุนแรง มีรูปเป็นหน้าสัตว์ที่น่าเกลียด เช่นหมู หรือลา ตามตำนานว่าเป็นอนุชาของโอซิริส ผู้เกลียดชังพี่ของตนเอง และเป็นผู้สังหารโอซิริสด้วย

ธอธ (Thot)เทพผู้มีเศียรเป็นรูปนกกระเรียน เป็นเทพแห่งอาลักษณ์ เจ้าแห่งการอ่านและเขียนจะเป็นผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆในการพิพากษาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ

โซเบค (Sobek) เทพเจ้าแห่งลำน้ำ มีรูปเป็นจรเข้ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะชีวิตของคนอียิปต์ขึ้นอยู่กับแม่น้ำไนล์มัมมี่จระเข้ของโซเบคจะพบได้ทั่วไปในเขตที่นับถือเทพองค์นี้ริม 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์

บาสเตด (Bastet)

เทวีผู้มีเศียรเป็นแมว ได้รับการเคารพนับถือมาก แมวนับว่าเป็นสัตว์ที่คนอียิปต์รักใคร่และคุ้นเคยมากที่สุด ดังนั้นมัมมี่แมวจึงมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีที่ฝังซากมัมมี่แมวโดยเฉพาะด้วย

ตัวเรต (Taweret)

เทวีแห่งมารดา และหญิงมีครรภ์ บางครั้งก็ถือเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นผู้ให้กำเหนิ ตัวเรตมีรูปเป็นฮิปโปเตมัส รูปร่างอุ้ยอ้ายคล้ายหญิงมีครรภ์นั่นเอง

เซลเคต (Selket)

เทวีผู้ปกป้องหลุมฝังศพ เป็นเทวีที่มีความดุร้ายน่ากลัว มีรูปเป็นหญิงสาวมีเศียรเป็นแมลงป่อง

เนคเบต (Nekhbet)

เทวีแห่งอียิปต์บน มีรูปเป็นนกแร้ง ดังนั้นบนศิราภรณ์ของฟาโรห์ จึงมีเศียรของนกแร้งอยู่คู่กับงูเห่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์ล่าง

นัท หรือนุท (Nut)

เป็นเทวีแห่งท้องฟ้า มีรูปเป็นผู้หญิงร่างของพระนางจะเปลือยก้มโค้งเป็นครึ่งวงกลม เหมือนท้องฟ้าที่โค้งอยู่เหนือโลก

วัดเจต(Wadjet)

เทวีแห่งอียิปต์ล่าง มีรูปเป็นงูเห่า จะอยู่บนศิราภรณ์ของฟาโรห์คู่กับนกแร้ง เพื่อให้ความคุ้มครององค์ฟาโรห์เสมอ

มะอาด(Maat)

เทวีแห่งความเที่ยงแท้ ความยุติธรรม มีรูปเป็นหญิงสาวปักขนนกบนศิราภรณ์

เซคเมต (Sekhmet)

เทวีผู้ดุร้าย คอยปกป้องเทพทั้งมวลโดยเฉพาะสุริยเทพ เป็นผู้นำความหายนะมาสู่ศัตรูผู้คิดร้ายกับสุริยเทพ มีรูปเป็นสิงโตตัวเมีย สวมศิราภรณ์รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์

ปดาห์(Ptah)

สุริยเทพในยามที่พระอาทิตย์ตกดินเป็นเทพแห่งความมือมิด บางครั้งถือเป็นเทพผู้คุ้มครองชีวิตหลังความตาย จึงมีรูปเป็นบุรุษที่ถูกพันผ้าไว้แบบมัมมี่ แต่ไม่ได้ทรงเครื่องเยี่ยงโอซิริส

อนูบิส (Anubis)

เทพแห่งความตาย และการจัดการพิธีศพ มีรูปเป็นหมาไน จะพบรูปอนูบิสในหลุมฝังศพ และที่ฝังพระศพทุกแห่ง

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

เครื่องสำอางยุคอียิปต์โบราณ

เครื่องสำอางยุคอียิปต์โบราณ

เครื่องสำอางยุคอียิปต์โบราณ   ชาวอียิปต์ยุคโบราณเมื่อกว่า5,000ปีก่อนรู้จักใช้สีทาเปลือกตา และขอบตาเพื่อความงามและเพื่อช่วยป้องกันแสงแดดเข้าตาสี นี้เป็นครีมข้นบดจากหินมาลาไคต์(malachite)แร่สีเขียวสดซึ่ง เป็นเกลือของทองแดง

พระนางคลีโอพัตราก็ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกับสตรีชาวอียิปต์ทั้ง หลายโดยทรงใช้ผงสีฟ้าสดที่บดจากหินลิปิสลาซูลี(lapislazuli) ทาหลังพระเนตรและใช้ผงหินมาลาไคต์สีเขียวทาขอบพระเนตร ด้านล่างทรงใช้ผงดินสีแดง(ผงดินสนิมเหล็ก)ทาพระโอษฐ์ และ พระปรางและใช้สารจากต้นเฮนนาทาฝ่าพระหัตถ์เพื่อให้เป็นสี ชมพูให้ดูเยาว์วัย

เฮนนาเป็นสารย้อมสีน้ำตาลอมแดงทำจากต้นเฮนนาซึ่งเป็นไม้พุ่มที่ขึ้นอยู่ในประเทศอียิปต์

หญิงชาวอียิปต์ยังใช้เฮนนาเป็นส่วนผสมสำหรับสีทาเล็บด้วย

นอกจากนี้ผู้ชายชาวอียิปต์โบราณก็ใช้ผงเฮนนาย้มผม และเครา

ในสมัยกรีกโบราณกว่า2,000ปีมาแล้วถือว่าใบหน้าที่ขาวโพลนงามกว่าแก้มที่มีสีแดง

หญิงชาวกรีกจึงทาหน้าให้ขาวโพลนด้วย”เซอรูส”(ceruse) คือผงตะกั่วขาวผสมขี้ผึ้งไขสัตว์ น้ำมัน และไข่ขาว

แต่สารตะกั่วเป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าซึมผ่านผิวหนังจะทำให้เบื่ออาหารท้องไส้ปั่นป่วนมึนงงหายใจขัด

แขนขาชาปวดศีรษะและบางครั้งถึงขั้นตาบอดและเสียชีวิต

ชาวโรมันที่ร่ำรวยทั้งหญิงและชายใช้ผงตะกั่วขาวทาหน้าใช้สีที่ทำจากตะกั่วแดงทาแก้ม

ในศตวรรษที่ 1จักรพรรดิเนโรและมเหสีองค์ที่ 2 พระนามว่าปอปเปียต่างก็ทาพระพักตร์ด้วยสีจากตะกั่ว

แต่ตอนกลางคืนจะพอกพระพักตร์ด้วยแป้งสาลีเปียกและน้ำนมลาเพื่อล้างพิษตะกั่ว

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.